วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โทรทัศน์ครูที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

เรื่องที่ 3   การมีส่วนร่วมแบบสมบูรณ์


โดย  ดร. ปัทมศิริ   ธีรานุรักษ์ ราจุชัยนิวัฒน์   โรงเรียน อนุบาลธีรานุรักษ์  ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย  คณะ ครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


              ในเรื่องนี้  ท่าน ดร. ปัทมศิริ  ธีรานุรักษ์ ราจุชัยนิวัฒน์  ได้กล่าวว่า  การเรียนการสอนปฐมวัยในรูปแบบการสอนองค์รวมนั้น  สิ่งสำคัญนอกจากการถ่ายทอดจากคุณครูไปยังเด็กๆ แล้ว   การมีส่วนร่วมและความร่วมมือของผู้ปกครองถือว่าสำคัญมาก   หากโรงเรียนสามารถทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์  หรือที่เรียกว่า Comprehensive Approach แล้ว   จะส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กให้พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก
  
ผู้ปกครองควรจะมีส่วนร่วม   ดังต่อไปนี้


               1.  การมีส่วนร่วมแบบ  " ทำงาน "  
                            -  อาสาสมัคร 
                            -  ผู้ช่วยครู  
                            -  วิทยากรพิเศษ
               2.  การมีความร่วมแบบ  " กระบวนการ "
                            -  การวางแผน
                            -  การตัดสินใจ
               3.  การมีส่วนร่วมแบบ  " พัฒนา "
                            -  ด้านความรู้
                            -  ด้านทักษะ
               4.  การมีส่วนร่วมแบบ  " สมบูรณ์ "
                            -  การวางแผน
                            -  การทำงาน
                            -  การพัฒนา


การทำกิจกรรมเที่ยวนาครูธานี
               มีแนวคิดเพื่อมุ่งเน้นให้เด็กมีพัฒนาการทุกๆ ด้าน  ตามวิธีของการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัย คือ
               1.  มีการวางแผนร่วมกันทั้งครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม
               2.  การทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็ก  โดยเป็นส่วนช่วยให้เด็กกล้าที่จะทำกิจกรรม  เมื่อเด็กทำได้ควรมีการเสริมแรง  เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
               3.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองกับครู  ว่าหลังจากทำกิจกรรมนั้นเด็กมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน
               หลังจากทำกิจกรรม
                           1.   เด็กจะเกิดความมั่นใจและกล้าแสดงออกมากขึ้น
                           2.   เด็กได้รู้จักการแบ่งหน้าที่การทำงาน
                           3.   เด็กจะเข้าใจและยอมรับความสามารถที่แตกต่างกันในระหว่างเพื่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น